‘ประยุทธ์’ ไอเดียบรรเจิด! ดำริใช้พื้นที่ทหาร ปลูกผักชี แก้ผักชีแพง

‘ประยุทธ์’ ไอเดียบรรเจิด! ดำริใช้พื้นที่ทหาร ปลูกผักชี แก้ผักชีแพง

ประยุทธ์ สั่งที่ประชุม ครม. ให้ใช้พื้นที่ทหาร ปลูกผักชี เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชน หลังจากที่ราคาผักโดยเฉพาะผักชีแพงถึง 400 บาทต่อกิโล นาย เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลประชุมคณะรัฐมนตรีหรือ ครม. โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน โดยในที่ประชุมนายกฯ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาพืชผลเกษตร โดยเฉพาะผักชีที่มีราคาแพงถึงกิโลกรัมละ 400 บาท พล.อ.ประยุทธ์ สั่งการในที่ประชุม ครม.ให้นำพื้นที่ของทหารมาปลูกผักชี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ที่ต้องบริโภคพืชผักสวนครัวนำมาประกอบอาหาร

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า พืชผักที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น มีสาเหตุจากสถานการณ์น้ำท่วม 

ซึ่งผลกระทบนี้จะเกิดเพียงช่วงสั้นๆ คิดว่าสถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายในไม่ช้า ขณะนี้พื้นที่ทหารนำพืชผักสวนครัว โดยเฉพาะพริก ผักชี เข้าไปปลูกบ้างแล้ว เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ต้องใช้ผักสวนครัวประกอบอาหารทุกวัน ผักที่ปลูกในพื้นที่ทหาร หากผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ก็จะช่วยให้ราคาผัก โดยเฉพาะผักชีลดลงมาได้ เป็นการลดภาระของประชาชน

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมครม.นายกฯสอบถามถึงราคาพืชผักที่ราคาสูงขึ้น จากสถานการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคกลาง ดังนั้นใช้เวลาอีกไม่นาน สถานการณ์ราคาพืชผักน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ส่วนเรื่องปุ๋ยราคาแพง รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์เชิญผู้ประกอบการ 19 ราย เข้าหารือให้ตรึงราคาต้นทุนปุ๋ย ซึ่งถือเป็นต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เพื่อบรรเทาภาระเกษตรกรในช่วงนี้ออกไป ในที่ประชุมได้หารือถึงสาเหตุของราคาปุ๋ยแพงขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ไทยซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมสูตรปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตร ขายแม่ปุ๋ยส่วนใหญ่ให้กับประเทศอินเดีย ส่งผลให้ไทยหาซื้อแม่ปุ๋ยได้ยากยิ่งขึ้น ทำให้ราคาปุ๋ยสูงขึ้นมาก

แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและ LNG เนื่องจากประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศกลุ่มตะวันออกกลางประมาณร้อยละ 55 และนำเข้าจากรัสเซียเพื่อกลั่นเพียง 5.22 ล้านลิตร/วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมด และในส่วนของ LNG ประเทศไทยนำเข้าจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 18 จากหลากหลายแหล่ง แต่กระทรวงพลังงานก็ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมหากเกิดสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น

‘ประยุทธ์’ ชื่นชม วัคซีนไทย หลังทดลอง ‘ChulaCov-19’ และ ‘ใบยา’ ใกล้สำเร็จ

ประยุทธ์ ชื่นชมการพัฒนา วัคซีนไทย หลังการทดลองวัคซีน ChulaCov-19 และ ใบยา ใกล้สำเร็จ ยืนยันสนับสนุนการผลิตเต็มที่ นาย ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่วัคซีนโควิดฝีมือคนไทย “ChulaCov-19 mRNA” กับ “ใบยา” ซึ่งผลิตโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใกล้ประสบความสำเร็จโดยในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2564 ได้มีมติอนุมัติงบประมาณในส่วนโครงการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จำนวน 2 โครงการที่เกี่ยวกับการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด -19 ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย ได้แก่

1)โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ChulaCov- 19 mRNA ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ให้ความเห็นชอบ วงเงิน 2,316.8 ล้านบาท

2)โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันวัคซีนจากใบยา (Baiya SARS-CoV-2 VAX1) ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยไทย จากบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการผลิตและทดสอบวัคซีนทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 3 วงเงิน 1,309 ล้านบาท ทั้งนี้ รวมสองโครงการเป็นเงิน 3,625.8 ล้านบาท ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)

ได้ออกมาเปิดเผยว่า วัคซีนทั้งสองชนิดนี้จะช่วยเสริมความมั่นคงทางวัคซีนของประเทศ มีเป้าจะขึ้นทะเบียนได้ประมาณกลางปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะผลิตได้ไม่น้อยกว่า 60 ล้านโดส และเมื่อไทยสามารถพัฒนาวัคซีนและผลิตด้วยตัวเองในทุกระยะ รวมทั้งสามารถดัดแปลงและปรับวัคซีนให้ครอบคลุมเชื้อซึ่งจะกลายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ ประเทศไทยก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเชื้ออื่นๆ ได้ในอนาคต

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ความก้าวหน้านี้ เป็นผลจากการทำงานที่มุ่งมั่นตั้งใจ ของคนไทย เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้พี่น้องชาวไทย รวมทั้งยังสามารถต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนดังกล่าวไปสู่การผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นใหม่ในไทยได้อีกในอนาคต รวมทั้งทำให้ไทยมีข้อมูลการวิจัยและพัฒนาวัคซีนในประเทศที่น่าเชื่อถือตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า รัฐบาลขอชื่นชมและสนับสนุนการผลิตวัคซีนทั้งสองโครงการอย่างเต็มที่ หวังว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะดำเนินการตามขั้นตอนให้ประสบความสำเร็จในระยะต่างๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป